วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน

งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน

ย่าม






 


หมอน










ย่ามสะพายข้าง










ย่ามสะพายข้างเล็ก

 








ผ้าพันคอ , หมวกถัก 










 ผ้าไหมเพ้นท์

 

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13

  "หัตถกรรมพื้นบ้าน"  เป็นประยุกต์ศิลป์หรือศิลปะที่มีประโยชน์ใช้สอยประเภทหนึ่งที่ชาวบ้านธรรมดา เป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นผู้สร้างเครื่องมือ  ภาชนะ  สำหรับใช้เองในชีวิตประจำวัน    นอกจากนี้ยังมีหัตถกรรมพื้นบ้านอยู่อีกสองลักษณะ คือ งานหัตถกรรมที่ชาวบ้านสร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของคนในอีกระดับหนึ่ง หรืออีกสังคมหนึ่งคือ  ขุนนาง  ข้าราชการ และพระมหากษัตริย์  และลักษณะสุดท้ายคือ งานหัตถกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อสนองความเชื่อของตนในพิธีกรรมต่างๆ และในพระศาสนา ในที่นี้ผู้เขียนใคร่จะขอกล่าวถึงแต่งานหัตถกรรมที่ชาบ้านสร้างขึ้นเพื่อ ใช้สอยเองและใช้ในระหว่างชาวบ้านด้วยกันเท่านั้น
           หัตถกรรมดังกล่าวนี้มีหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งจะขอกล่าวตามลักษณะของวัสดุและเทคนิคการทำ อันมีอยู่ทั้งสิ้น ๙ ชนิดด้วยกัน คือ
           ๑. เครื่องไม้
           ๒. เครื่องจักสาน
           ๓. เครื่องดิน
          ๔. เครื่องทอ (เครื่องผ้า)
          ๕. เครื่องรัก
          ๖. เครื่องโลหะ
          ๗. เครื่องหนัง
          ๘. เครื่องกระดาษ
          ๙. เครื่องหิน
           หัตถกรรมชนิดต่างๆ ดังกล่าวมานี้ ชาวบ้านสร้างขึ้นโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตนเองเป็นส่วนมากและ มิได้นำไปผสมกับวัตถุเทียมอื่นใดเลย  แต่พอมาถึงปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีส่วนทำให้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ   มีการนำเอาวัสดุเทียมมาใช้ประกอบในการทำงานหัตถกรรมอย่างไม่สามารถจะหลีก เลี่ยงได้ ซึ่งนับว่าเป็นการลดคุณค่าทางสุนทรียภาพของหัตถกรรมพื้นบ้าน  อย่างไรก็ตาม สภาพเช่นนี้บังเกิดขึ้นเสมอมา จึงสมควรที่เราจะต้องทำการอนุรักษ์เอาไว้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งที่สามารถจะทำ ได้

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หัตถกรรมพื้นบ้าน

 หัตถกรรมพื้นบ้าน


 หัตถกรรม (crafts) หมายถึง เครื่องมือเครื่องใช้ที่สร้างขึ้นด้วยมือเป็นหลัก เช่น การปั้น การแกะสลัก การจักสาน ซึ่งเกิดจากฝีมือช่างเพียงคนเดียวหรือมากกว่าหนึ่งคน
         พื้นบ้าน (folk) นักคติชนวิทยาได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง กลุ่มชนใดคนหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์หรือลักษณะร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจจะเป็นลักษณะของการเลี้ยงชีพที่คล้ายคลึงกัน พูดภาษาเดียวกัน นับถือศาสนาเดียวกัน มีขนบประเพณีเดียวกัน
        หัตถกรรมพื้นบ้านทำขี้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ แต่หัตถกรรมพื้นบ้านบางอย่าง มีความงามร่วมอยู่ด้วย อาจเป็นในด้านรูปทรง ลวดลาย สีสัน ความละเอียด ประณีตของวัสดุการทำ ดังนั้นหัตถกรรม พื้นบ้านบางอย่างจึงจัดเป็นงานศิลปะซึ่งเรียกว่า ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ได้มีผู้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ถ้าวัตถุนั้น ผู้สร้างให้ความสำคัญด้านความงามมากกว่า ประโยชน์ใช้สอยก็ถือว่า วัตถุนั้นเป็นศิลปหัตถกรรม แต่ถ้าวัตถุนั้นมีประโยชน์ใช้สอยมากกว่าก็ถือว่าเป็นงานหัตถกรรม
สาเหตุของการสร้างหัตถกรรมพื้นบ้าน
๑. ความจำเป็นในการดำรงชีวิต
  • ทำนา : ไถ, ไม้ขอฉาย (คันฉาย), กะพ้อม
  • ดักจับสัตว์น้ำ : ไซ, ตุ้ม, ข้อง, อีจู้
  • เครื่องใช้ในครัวเรือน : กระบุง, กระจาด, ตุ่มน้ำ, หม้อ
๒. สภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
  • บ้านเรือนริมคลอง
๓. วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
  • การทำตุง หรือธง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
        หัตถกรรมพื้นบ้าน หมายถึง งานช่างหรืองานฝีมือของชาวบ้าน ที่ประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ไม้สอบภายในบ้าน ใช้เป็นสิ่งของสนองความเชื่อถือทางด้านประเพณี ศาสนา เช่น เป็นเครื่องบูชา ใช้เพื่อความสวยงามสนองความสุขทางจิตใจและเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
        หัตถกรรม หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการกระทำด้วยฝีมือมนุษย์ โดยนำวัตถุดิบที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน งานหัตถกรรมจะมีการพัฒนารูปแบบไปตามการพัฒนาฝีมือของช่าง ที่สั่งสมประสบการณ์ และสืบทอดความรู้ ความชำนาญ จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและทักษะ ส่งผลให้งานหัตถกรรมมีความงามและมีคุณค่าทางศิลปะ งานหัตถกรรมจึงกลายเป็นงานศิลปหัตถกรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันจนไม่อาจแยกออกจากกันได้ศิลปหัตถกรรม มีความสัมพันธ์