
พื้นบ้าน (folk) นักคติชนวิทยาได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง กลุ่มชนใดคนหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์หรือลักษณะร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจจะเป็นลักษณะของการเลี้ยงชีพที่คล้ายคลึงกัน พูดภาษาเดียวกัน นับถือศาสนาเดียวกัน มีขนบประเพณีเดียวกัน
หัตถกรรมพื้นบ้านทำขี้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ แต่หัตถกรรมพื้นบ้านบางอย่าง มีความงามร่วมอยู่ด้วย อาจเป็นในด้านรูปทรง ลวดลาย สีสัน ความละเอียด ประณีตของวัสดุการทำ ดังนั้นหัตถกรรม พื้นบ้านบางอย่างจึงจัดเป็นงานศิลปะซึ่งเรียกว่า ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ได้มีผู้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ถ้าวัตถุนั้น ผู้สร้างให้ความสำคัญด้านความงามมากกว่า ประโยชน์ใช้สอยก็ถือว่า วัตถุนั้นเป็นศิลปหัตถกรรม แต่ถ้าวัตถุนั้นมีประโยชน์ใช้สอยมากกว่าก็ถือว่าเป็นงานหัตถกรรม
สาเหตุของการสร้างหัตถกรรมพื้นบ้าน
- ๑. ความจำเป็นในการดำรงชีวิต
- ทำนา : ไถ, ไม้ขอฉาย (คันฉาย), กะพ้อม
- ดักจับสัตว์น้ำ : ไซ, ตุ้ม, ข้อง, อีจู้
- เครื่องใช้ในครัวเรือน : กระบุง, กระจาด, ตุ่มน้ำ, หม้อ
- ๒. สภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
- บ้านเรือนริมคลอง
- ๓. วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
- การทำตุง หรือธง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
หัตถกรรม หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการกระทำด้วยฝีมือมนุษย์ โดยนำวัตถุดิบที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน งานหัตถกรรมจะมีการพัฒนารูปแบบไปตามการพัฒนาฝีมือของช่าง ที่สั่งสมประสบการณ์ และสืบทอดความรู้ ความชำนาญ จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและทักษะ ส่งผลให้งานหัตถกรรมมีความงามและมีคุณค่าทางศิลปะ งานหัตถกรรมจึงกลายเป็นงานศิลปหัตถกรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันจนไม่อาจแยกออกจากกันได้ศิลปหัตถกรรม มีความสัมพันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น